ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม – 1 เมษายน 2565 ณ Klagenfrut University ประเทศออสเตรีย รักษาราชการแทนอธิการบดี นำผู้บริหารและคณาจารย์ มรท. เข้าร่วมการประชุม คกก.บริหารโครงการ INCREASE และร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการวิจัยทุน ERASMUS+ พร้อม MOU กับ Klagenfurt University (วันที่ 1)

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 ณ Klagenfrut University ประเทศออสเตรีย ผศ.ดร.กันยา บาร์นท์ รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี พร้อมด้วย อ.ดร.สมชาย วัชรปัญญาวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและวิจัย, ผศ.พรเทพ คัชมาตย์ ผู้ช่วยอธิการบดี, อ.ดร.ไอลดา ศราทธทัต อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการ คณะวิทยาการจัดการ และ ผศ.ดร.ภราดร งามดี อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ และร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ Innovative Capacity building by participative and Reflective teacher training for Academia Society and Enterprises (INCREASE) ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือทางวิชาการระหว่างภาคเอกชน กับมหาวิทยาลัยของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป และมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป Erasmus+ Capacity Building in Higher Education ซึ่งคณะทำงาน ได้รับการตอนรับจาก Prof. Dr. Hans Karl Peterlini รองคณบดีคณะวัฒนธรรมศึกษา จาก University of Klagenfurt Prof. Dr. Gerhard Schleining จาก University of Natural Resources and Life Sciences, Vienna ร่วมกับ Mr. Rainer Svacinka ประธานกรรมการบริหาร บริษัท sumo Technology GmbH, Vienna และ Mrs. Christina Cerne ประธานกรรมการบริหาร และ Mr. Reinhold Habla กรรมการผู้อํานวยการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท Asian European Consulting Group จากนั้นคณะทำงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ Innovative Capacity building by participative and Reflective teacher training for Academia Society and Enterprises (INCREASE) ร่วมกับผู้แทนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, ผู้แทนจากมหาวิทยาลัย Kozaminski ประเทศโปแลนด์ และมหาวิทยาลัยจากประเทศเวียดนาม ได้แก่ Ho Chih Minh Open University และ Thai Nguen University ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะทำงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ได้เข้าร่วมการอบรมในหัวข้อ Phenomenological Perspectives on Teaching and Learning ซึ่งเป็นการอบรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติและประยุกต์ใช้ทฤษฎี Vignettes กับการเรียนการสอนเพื่อดึงทักษะด้านการเรียนรู้ของนักศึกษา เช่น ด้านการรับรู้ การสะท้อนของความคิด การตระหนักรู้ถึงพลวัตของสังคม และการกระทำของมนุษย์

กิจกรรมอื่นๆ